Soft loan ช่วยผู้ประกอบการฝ่าวิกฤต โควิด-19 💥

Soft loan ช่วยผู้ประกอบการฝ่าวิกฤต โควิด-19 💥

 

Soft loan ถือว่าเข้ามาเติมเต็มสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยเฉพาะจากสถานการ์ณเศรษฐกิจที่หยุดชะงักลง โดยสินเชื่อที่ได้มาจะถูกนำมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเงินสำรองสำหรับดำเนินธุรกิจต่อไป

 

มาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ให้สถาบันทางการเงินของรัฐ ออกมาตรการสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยเป็นธรรมเพิ่มสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการ เพื่อรักษาการจ้างงาน บรรเทาภาระหนี้สินประชาชน และป้องกันการเป็นหนี้นอกระบบ

 

🌟 1. มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ Soft loan ธนาคารแห่งประเทศไทย

มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในช่วงฟื้นตัวจากการระบาดในรอบแรก ซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานสำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยเจ้าของธุรกิจ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อคงค้างไม่เกิน 500 ล้านบาท (สำหรับแต่ละสถาบันการเงิน) สามารถสมัครขอ soft loan ของแบงก์ชาติได้ โดยแบงก์ชาติได้กำชับให้สถาบันการเงินกระจายเงินสินเชื่อนี้อย่างทั่วถึง โดยอนุมัติสินเชื่อ 138,200 ล้านบาท จำนวน 77,787 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 12 เม.ย. 2564)

 

🌟 2. มาตรการทางการเงินสินเชื่อฟื้นฟู ธนาคารแห่งประเทศไทย

เพื่อช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่มีศักยภาพที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 โดย ธปท. ให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน เพื่อนำไปให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบธุรกิจต่อ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ รักษาระดับการจ้างงาน และช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ ไม่ให้นำเงินสินเชื่อดังกล่าวมา ชำระหนี้เดิมที่มีอยู่กับสถาบันการเงินที่ให้กู้ยืมเงิน โดยอนุมัติสินเชื่อ 206,715 ล้านบาท จำนวน 59,064 รายราย (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ม.ค. 2566)

 

🌟 3. โครงการ Soft loan ออมสิน

ครม. มีมติเห็นชอบปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากวิกฤติการแพร่ระบาด Covid-19 ตามที่ธนาคารออมสินเป็นผู้ดำเนินการ วงเงิน 5,000 ล้านบาท (ปล่อยสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 5 แสนบาท ดอกเบี้ย ร้อยละ 3.99 ต่อปี ไม่ต้องมีหลักประกัน)

 

🌟 4. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan)

Re-Open ต่อเนื่องมาถึงโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อภาคธุรกิจโรงแรมและสาขาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) ของโรงแรม เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องมากขึ้น โดยขยายวันรับคําขอสินเชื่อจนถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2566 หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อรวมในโครงการจะหมดคุณสมบัติผู้กู้

 

ในขณะที่ธุรกิจของสีฟ้า 🪶 ที่มี 3 ธุรกิจ คือ ห้องอาหารสีฟ้า ซึ่งในช่วงโควิด-19 ทำให้รายได้มาจากการสั่งดิลิเวอรีเท่านั้น ธุรกิจที่สองคือรับจ้างทำอาหารและเครื่องดื่มในโรงแรม ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรง ส่วนธุรกิจที่สามคือรับผลิตอาหารกล่องให้กับสายการบินซึ่งหยุดไป ทำให้รายได้หายไปเกินร้อยละ 90 การหยุดชะงักของ 3 ธุรกิจทำให้ต้นทุนคงที่ต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ และค่าไฟ เป็นรายจ่ายเข้ามา เมื่อธนาคารประกาศสินเชื่อ soft loan ทำให้มีเงินสดหมุนเวียนมากขึ้น สภาพคล่องดีขึ้น อีกทั้งยังสามารถจ่ายค่าจ้างพนักงานและซัพพลายเออร์ เพื่อให้ทุกคนอยู่รอดไปพร้อมกัน


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar